|
อาหารผู้สูงวัย ผู้สูงอายุคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อร่างกายเจริญเติบโตถึงขีดสุดแล้ว การเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายจะเป็น ไปในด้านเสื่อมสลาย มากกว่าการสร้างเสริม เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การทำงานของระบบ ประสาทจะด้อยลง ผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องนี้อย่างมากอาจเป็นโรคฟันผุ หรือไม่มีฟันทั้งปาก ต่อมน้ำลายหลั่งสารน้ำลายน้อยลง มีผลทำให้การบดเคี้ยวอาหารภายในปากเป็นไปได้ไม่ดี เมื่ออาหารมาถึงกระเพาะ อาหารและลำไส้เล็ก มีปัญหาการย่อยและการดูดซึม เพราะน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและ ลำไส้เล็กมีน้อย ลงอาหารที่ย่อยไม่ได้ เมื่อผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่ก็จะเกิดการสะสมเกิดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ และปล่อยก๊าซออกมาทำให้ท้องขึ้นท้องอืดได้ การเคลื่อนไหวของลำไส้ก็มีน้อยกว่าวัยหนุ่มสาว ทำให้เกิดอาการท้องผูก อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงมีความต้องการพลังงานและสารอาหารที่มีคุณภาพสูงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ จึงควรกิน อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย |  |
|
|
|
แนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ นอกจากการ รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกมื้อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ร่างกายให้แข็งแรงควร ปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้ | • พักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง • พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ • ฝึกการขับถ่าย อย่าให้ท้องผูก • ดูแลสุขภาพ ช่องปาก ฟัน และเหงือก อยู่เสมอ • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ ปีละ 2 ครั้ง • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย • งดสิ่งเสพติดที่บั่นทอนสุขภาพ เช่น บุหรี่ เหล้า • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ • มองโลกในแง่ดี จะทำให้จิตใจสดใส อารมณ์ดี • ควรหาโอกาสพบปะสังสรรค์ กับเพื่อนบ้าน |  |
|
รายการอาหารสำหรับผู้สูงอายใน 1 วัน |
|
|
เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุพัตรา แสงรุจิ สนับสนุนการพิมพ์โดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
|